คำถามที่ถามบ่อย เกี่ยวกับดิจิตอลทีวี
Q : โทรทัศน์ระบบแอนะล็อก และ โทรทัศน์ระบบดิจิตอล แตกต่างกันอย่างไร
A : โทรทัศน์ระบบดิจิตอลมีคุณภาพสัญญาณภาพและเสียงที่ดีกว่าระบบแอนะล็อก และเป็นการนำทรัพยากรคลื่นความถี่วิทยุมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยสมารถออกอากาศได้หลายช่องเมื่อเทียบกับแบบแอนะล็อกที่ใช้ออกอากาศได้เพียงช่องเดียว ซึ่งสามารถนำเสนอได้คมชัดขึ้นด้วยมาตรฐานความคมชัดสูง (High Definition) หรืออาจจะแบ่งได้เป็นหลายช่องรายการมาตรฐานความคมชัดปกติ (Standard Definition) ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า Multicasting นอกจากนี้ยังรองรับบริการมัลติมีเดียใหม่ๆ และ ประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้ามากกว่าระบบแอนะล็อกหลายเท่าตัว รวมถึงสามารถใช้ทรัพยากรโครงข่ายพื้นฐานและโครงข่ายการส่งสัญญาณร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
Q : ราคา Set top box
A : ราคาของ STB จะอยู่ที่ราวๆ 1,000 ถึง 2,000 บาทเท่านั้น ขึ้นกับสเป็คและลูกเล่นต่าง ตอนนี้ราคาในต่างประเทศอยู่ที่ประมาณ 45 USD หรือประมาณ 1,350 บาทเท่านั้น
Q : ถ้าเราไม่มีทีวีที่มี Built-in Digital Tuner แบบ DVB-T2 หรือ STB เราจะสามารถรับชมฟรีทีวีช่อง 3,5,7,9, NBT และ สทท ได้อยู่หรือไม่
A : ยังสามารถรับชมได้อยู่เพราะรัฐบาลจะยังส่งสัญญาณการแพร่ภาพแบบ Analog ไปจนถึงปี 2563 ตามข้อตกลงของอาเซียน โดยระหว่างนี้ก็จะทำการแพร่ภาพสัญญาณแบบ Digital คู่ไปกับ Analog ด้วย ซึ่งหลังจากปี 2563 ก็จะทำการตัดสัญญาณแบบ Analog ซึ่งถ้าผู้ใช้งานไม่มีทีวีที่มี Built-in Digital Tuner แบบ DVB-T2 หรือ STB ก็จะไม่สามารถ รับสัญญาณได้อีกต่อไป (ตอนที่ประเทศเกาหลีเปลี่ยนสัญญาณการออกอากาศจากแบบเดิมเป็น Digital TV แบบ ATSC ใช้เวลาถึง 10 ปี จึงตัดสัญญาณแบบ Analog)
Q : เมืองไทยจะเริ่มส่งสัญญาณแบบ Digital TV เมื่อไหร่ และจะมีช่องรายการประมาณกี่ช่อง
A : มีช่องบริการสาธารณะ (SD) จำนวน 12 ช่อง ช่องบริการชุมชน (SD) จำนวน 12 ช่อง และช่องบริการธุรกิจ (SD,HD) จำนวน 24 ช่อง
Q : จำเป็นต้องใช้กับ Smart TV หรือไม่
A: ไม่จำเป็น จะรับสัญญาณได้หรือไม่ได้ขึ้นอยู่กับ Tuner ไม่ใช่ว่าทีวีรุ่นนั้นเป็น Smart TV
Q : ข้อแตกต่างระหว่าง Terrestrial Digital TV , Cable TV และ Sattlelite TV
A : การรับสัญญาณของ Terrestrial Digital TV นั้นการรับสัญญาณสามารถกระทำได้โดยใช้สายอากาศรับสัญญาณโทรทัศน์แบบธรรมดาที่ใช้กันอยู่ตามบ้านเรือนทั่วไปซึ่งประหยัดกว่าการใช้จานรับสัญญาณดาวเทียม หรือ การเป็นสมาชิกเคเบิลทีวี ถึงแม้การรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมอาจจะส่งสัญญาณได้ในพื้นที่ที่ค่อนข้างมากและ เข้าถึงพื้นที่ทุรกันดาร เช่น เกาะต่างๆ แต่เนื่องจาก การส่งสัญญาณดาวเทียมเป็นการส่งสัญญาณแบบ line of sight ดังนั้นเมื่ออยู่ในช่วงสภาพอากาศไม่ปลอดโปร่ง หรือ อยู่ในพื้นที่อับสัญญาณ เช่นมีตึกสูงบัง หรือมีสิ่งกีดขวางทางเดินของสัญญาณ จะไม่สามารถรับสัญญาณได้ ซึ่งก็รวมถึงการที่ไม่สามารถวางอุปกรณ์รับสัญญาณภายในอาคารได้ ต้องติดจานรับสัญญาณ บนที่สูง หรือหลังคาตึก โดยไม่ให้มีอะไรบัง
ในกรณีของ Cable TV ที่ต้องส่งสัญญาณผ่าน cable line ที่ผ่านไปตามบ้านเรือน ถึงแม้จะไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของสภาพอากาศและการถูกบดบังของสัญญาณ แต่ก็มีค่าใช้จ่ายสูงในการเดินสาย cable ที่โดยทั่วไปมักจำกัดพื้นที่อยู่ในเขตเมืองไม่ค่อยมีการกระจายออกไปในแถบชนทบหรือนอกเมือง
ซึ่งต่างจาก Terrestrail TV ที่ส่งสัญญาณโดยใช้คลื่นวิทยุ ส่งสัญญาณในลักษณะ broadcast กระจายรอบทิศทาง ซึ่งสามารถแพร่กระจายได้ในระยะทางที่ไกล และสามารถเดินทางผ่านสิ่งกีดขวางได้ ไม่จำกัดในเรื่องการถูก กำแพงหรือถูกตึกสูงบัง และยังไม่ถูกข้อจำกัดในเรื่องของการเดินสายสัญญาณ สามารถส่งสัญญาณไปนอกเขตเมืองได้ด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก กสทช.